วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การใช้งานดาวเทียมในด้านต่างๆ

การใช้งานดาวเทียมในด้านต่างๆ


ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์
          ดาวเทียมดวงแรกทางด้านนี้ก็คือ ดาวเทียมสปุกนิค (Spuknik) ซึ่งถูกออกแบบมา เพื่อใช้ในการวัดความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศโลก และเป็นการทดสอบการส่งสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ถัดจากนั้นสหรัฐฯ ก็ได้ส่งดาวเทียมแวนการ์ด 1 (VanGuard-1) ขึ้นไป และข้อมูลที่ได้รับกลับมาจากดาวเทียมแวนการ์ดนั้น ได้บอกลักษณะของโลกเราว่า มีรูปร่างคล้ายกับลูกแพร์ ในปัจจุบันดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันโดยกันทั่วไป คือ กล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิ้ล (Hubble) มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ทำหน้าที่เป็นกล้องดูดาวลอยฟ้า มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.2 เมตร ยาว 13.1 เมตร และหนักถึง 11 ตัน ผลจากการส่งกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิ้ล (Hubble) ขึ้นไป ทำให้มนุษย์ได้ค้นพบข้อมูลต่างๆ ทางด้านดาราศาสตร์อย่างมากมาย รวมถึงกำเนิดของสรรพสิ่งต่างๆ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงอวกาศ

ดาวเทียมสื่อสาร
          ดาวเทียมเอคโค่ (Echo) ถือเป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก มีลักษณะคล้ายกับลูกบอลลูน โดยผิวนอกเคลือบด้วยอลูมิเนียม
สร้างโดยสหรัฐฯ ตัวดาวเทียมถูกออกแบบอย่างง่ายๆ โดยอาศัยหลักการสะท้อนแสงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ไปกระทบยังผิวของดาวเทียม

ดาวเทียมสื่อสารในเชิงพาณิชย์
          ดาวเทียมสื่อสารในเชิงพาณิชย์ โดยบริษัท เอที แอนด์ที ได้สร้างดาวเทียมเทลสตาร์ (Telstar) ซึ่งมีรูปทรงกลมหลายเหลี่ยม ดาวเทียมดวงนี้สามารถเชื่อมวงจรโทรศัพท์ได้ถึง 600 สาย ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับทวีปยุโรป

ดาวเทียมซินคอม
          ใน ปี พ.ศ.2506 บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ (หรือบริษัท โบอิ้ง ในปัจจุบัน) ได้สร้างดาวเทียมซินคอม (Syncom) ซึ่งมีวงโคจรเหนือโลก ประมาณ 36,000 กิโลเมตร โดยมีการสร้างชุดดาวเทียมซินคอม ขึ้นมา 3 ชุด คือ ซินคอม-1 ซินคอม-2 และซินคอม-3 เพื่อให้สามารถเชื่อมสัญญาณได้รอบโลก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ ซินคอม-1 ได้มีปัญหาขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างไรก็ตาม ซินคอม-2 และซินคอม-3 ก็ได้แสดงบทบาทของดาวเทียมสื่อสาร ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยการถ่ายทอดกีฬาโอลิมปิคในปี พ.ศ. 2507 ที่กรุงโตเกียวเป็นผลสำเร็จ

ดาวเทียมอินเทลแซท-1
           ใน ปี พ.ศ. 2507 ได้มีการรวมตัวกันของประเทศต่างๆ เพื่อก่อตั้งองค์กรสำหรับการจัดการ ความต้องการของช่องสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายขึ้นหรือที่รู้จักกันในนาม The International Telecommunication Satellite Consortium (INTELSAT) โดยหลังจากการก่อตั้งองค์กร INTELSAT เพียง 1 ปี  ดาวเทียมอินเทลแซ ท-1 (Intelsat-1) ก็ได้ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศ ในขณะที่ความต้องการทางด้านการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ดาวเทียมก็ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตามดาวเทียมสื่อสารระหว่างประเทศ ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศ ได้อย่างเพียงพอ
         ในปี พ.ศ. 2515 บริษัท เทเลแซท แห่งประเทศแคนาดา ได้เริ่มยิงดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศดวงแรก ซึ่งมีชื่อว่า ANIK เพื่อตอบสนองความต้องการข้างต้น (ดาวเทียมไทยคม-1A ดาวเทียมไทยคม-2 และดาวเทียมไทยคม-3 ก็ถือเป็นดาวเทียมสื่อสารประเภทนี้ด้วยเช่นกัน)

ดาวเทียมมาริแซท
            รูปแบบการให้บริการของดาวเทียมสื่อสารในยุคแรกนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบริการทางด้านโทรศัพท์ และการถ่ายทอดสัญญาณภาพโทรทัศน์ซึ่งบริการเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ต้อง ใช้จานสายอากาศขนาดใหญ่ ที่สถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมสัญญาณจากดาวเทียม และสถานีดังกล่าวมักจะตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีปเท่านั้น ดังนั้นใน ปี พ.ศ. 2519 บริษัท คอมแซท จึงได้ปล่อยดาวเทียมชนิดใหม่มีชื่อว่า ดาวเทียม มาริแซท (MARISAT) ขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งทำให้สามารถให้บริการแก่ลูกค้าบริเวณภาคพื้นมหาสมุทรได้ด้วย ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารประเภทนี้ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจานสายอากาศก็ได้มีการพัฒนา จนกระทั่งมีขนาดเล็กกะทัดรัด ซึ่งสามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือทั่วไปได้

ดาวเทียมไอพีสตาร์
            ปัจจุบัน ดาวเทียมสื่อสารได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากโทรศัพท์ โทรทัศน์ มาจนถึงอินเทอร์เน็ต ที่ต้องการช่องสัญญาณสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง และพื้นที่ครอบคลุมเฉพาะ อย่างในประเทศไทยเอง ดาวเทียมไอพีสตาร์ ถือเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ที่สามารถรองรับการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใน
พื้นที่เอเชียแปซิฟิค

ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ
             ดาวเทียมเฉพาะทางที่ถูกพัฒนาในยุคแรกนั้น เป็นดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ โดยถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อศึกษาความเป็นไปของกลุ่มเมฆ ดาวเทียมไทรอส-1 (TIROS-1) ถือเป็นดาวเทียมพยากรณ์อากาศดวงแรก และได้ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2503 แต่การศึกษาสภาวะอากาศ ด้วยดาวเทียมไทรอส-1 ก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถาม การเปลื่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ของสภาวะอากาศในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากดาวเทียมไทรอส-1 อยู่ในวงโคจรที่ต่ำ ทำให้มุมมองมายังโลกแคบ (น้อยกว่า 1/3 ของโลก) รวมถึงมุมมองนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา

ดาวเทียมไทรอส-1
            มีการพัฒนาดาวเทียมที่มีชื่อว่าดาวเทียมโกส์ (GOES-Geostationary Operational Environment Satellite) ซึ่งเป็นดาวเทียมพยากรณ์อากาศ ที่ถูกออกแบบให้มีขนาดครอบคลุมผิวโลกถึง 1/3 ของพื้นผิวทั้งหมด รวมถึงเป็นมุมมองที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าโลกจะหมุนไปอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งคือ หมุนไปพร้อมๆ กับโลก ดาวเทียมดวงนี้ได้ถูกส่งเมื่อ ปี พ.ศ.2517 และในปัจจุบันดาวเทียมชุดนี้ได้นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์อากาศอีกด้วย

ดาวเทียมเพื่อการสำรวจทรัพยากร
            ดาวเทียมชนิดนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 โดยอาศัยความรู้ และเทคโนโลยีของดาวเทียมพยากรณ์อากาศ ที่ถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้ ดาวเทียมแลนด์แซท-1 (LANDSAT-1) ถูกยิงขึ้นไปเมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อศึกษาธรณีวิทยา โดยข้อมูลที่ดาวเทียมชุดนี้ ส่งกลับมายังโลกคือ ภาพถ่ายกว่า 300,000 รูป ซึ่งภาพถ่ายดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ในขณะที่สหัฐมีการพัฒนาดาวเทียมชุดแลนด์แซททางยุโรปเองก็ได้พัฒนาดาวเทียม สปอต (SPOT) เพื่อใช้ในงานลักษณะเดียวกัน

ดาวเทียมจารกรรม
            ดาวเทียมจารกรรม เป็นดาวเทียมที่มักจะปรากฏอยู่ในจอภาพยนตร์มากที่สุด เราจะเห็นความสามารถในการถ่ายภาพ 
การเคลื่อนไหวของบุคคล หรือปฏิบัติการยามค่ำคืนที่สามารถเห็นได้จากภาพถ่ายอินฟาเรด ประเทศที่ผลิตดาวเทียมจารกรรมเหล่านี้ มักจะเอ่ยอ้างว่าเป็นการสร้างเพื่อป้องกันตัวเอง แต่ในความจริงแล้ว 
การใช้งานดาวเทียมเหล่านี้ มักจะยืนอยู่บนเส้นระหว่างความถูกต้อง กับการล่วงละเมิดสิทธิของแต่ละประเทศที่ถูกจารกรรมข้อมูล นอกจากนั้นข้อมูลของดาวเทียมจารกรรมมักจะถูกเก็บไว้เป็นความลับสุดยอด


แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 

วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการสื่อสารดาวเทียม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 





วงโคจรดาวเทียม


วงโคจรดาวเทียม
        วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbit) เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น 3 ระยะคือ


          1. วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit "LEO") 
คือระยะสูงจากพื้นโลกไม่เกิน 2,000 กม. ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ตลอดเวลา เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง แต่จะสามารถบันทึกภาพคลุมพื้นที่ตามเส้นทางวงโคจรที่ผ่านไป ตามที่สถานีภาคพื้นดินจะกำหนดเส้นทางโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก (Polar Orbit) ดาวเทียมวงโคจรระยะต่ำขนาดใหญ่บางดวงสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลาค่ำ หรือก่อนสว่าง เพราะดาวเทียมจะสว่างเป็นจุดเล็ก ๆ เคลื่อนที่ผ่านในแนวนอนอย่างรวดเร็ว

          2. วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO") อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่ 10,000 กม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยาและสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะพื้นที่ได้ แต่หากจะติดต่อให้ครอบคลุมทั่วโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในการส่งผ่าน

          3. วงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit "GEO") เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ อยู่สูงจากพื้นโลก 35,786 กม. เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดู เหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือ จุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า")
         ดาวเทียมจะอยู่กับที่เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกันกับ เส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,786 กม. วงโคจรพิเศษนี้เรียกว่าวงโคจรค้างฟ้าหรือ วงโคจรคลาร์ก” (Clarke Belt) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ผู้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวงโคจรนี้ เมื่อ เดือนตุลาคม ค.ศ. 1945
         วงโคจรคลาร์ก เป็นวงโคจรในระนาบเส้นศูนย์สูตร (EQUATOR) ที่มีความสูงเป็นระยะที่ทำให้ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมเท่า กันกับการหมุนของโลก แล้วทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมีค่าพอดีกับค่าแรงดึงดูดของโลกพอดี เป็นผลให้ดาวเทียมดูเหมือนคงอยู่กับที่ ณ ระดับความสูงนี้ ดาวเทียมค้างฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศและภายในประเทศเช่น ดาวเทียมอนุกรม อินเทลแซต ฯลฯ



ประเภทของดาวเทียม

ประเภทของดาวเทียม


1.ดาวเทียมสื่อสาร
          ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจุส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่สารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง
 
2.ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
          การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล
          หลักการที่สำคัญของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (EME : Electro - Magnetic Energy) ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ถ่ายถาพที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม มักจะได้รับการออกแบบให้มีความสามารถถ่ายภาพ และมีความหลากหลายในรายละเอียดของภาพได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกประเภททรัพยากรที่สำคัญๆ 

3.ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศด้วย ภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอินฟาเรด(Infared) เนื่องจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมสำรวจประเภทหนึ่งจึงมีอุปกรณ์บน ดาวเทียมคล้ายกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร จะแตกต่างก็เพียงหน้าที่ การใช้งาน ดังนั้นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจึงมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียมสำรวจ ทรัพยากร กล่าวคือ อุปกรณ์สำรวจอุตุนิยมวิทยาบนดาวเทียมจะส่ง สัญญาณมายังเครื่องรับที่สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งที่สถานีภาคพื้นดินนี้จะมีระบบรับสัญญาณแตกต่างกันไปตามดาวเทียมแต่ละ ดวง

4.ดาวเทียมบอกตำแหน่ง
ระบบหาตำแหน่งโดยใช้ดาวเทียม (Global Positioning Satellite System - GPS) ถูกพัฒนาโดยทหารสำหรับการใช้งานในกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เป็นระบบนำร่องให้กับเครื่องบิน เมื่อดาวเทียมที่ใช้กับระบบ GPS ขยายตัวมากขึ้น จึงมีพื้นที่การครอบคลุมมากขึ้น และได้มีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น การนำร่องให้เรือเดินสมุทรพาณิชย์ในบริเวณที่ระบบนำร่องภาคพื้นดิน ไม่สามารถใช้ได้
 
5.ดาวเทียมด้านอื่นๆ
          -ดาวเทียมสมุทรศาสตร์
          เราสามารถนำดาวเทียมไปใช้กับงานได้หลากหลายสาขา งานทางด้านสำรวจทางทะเลก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ดาวเทียมได้เข้าไปมีบทบาท ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และนักชีววิทยาทางทะเลสามารถตรวจจับความ เคลื่อนไหวของทุกสรรพสิ่งในท้องทะเลได้ ก็ด้วยการใช้งานจากดาวเทียมนั่นเอง โดยนำข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทางทะเลมาตรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ลักษณะสิ่งมีชีวิต ความแปรปรวนของคลื่นลมและกระแสน้ำ จนกระทั่งได้รายงานสรุปสภาพทางทะเลที่สมบูรณ์
          -ดาวเทียมสำรวจอวกาศ
          ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่ มาก โดยดาวเทียมประเภทนี้จะถูกนำขึ้นไปสู่วงโคจรที่สูงกว่าดาวเทียมประเภทอื่น ๆ ลึกเข้าไปในอวกาศ ดังนั้นดาวเทียมสำรวจอวกาศจึงให้ภาพที่ไร้สิ่งกีดขวางใด ๆ ไม่มีชั้นบรรยากาศของโลกมากั้น ดาวเทียมสำรวจอวกาศบางดวงก็จะนำอุปกรณ์ตรวจจับ และบันทึกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางดวงก็จะมีหน้าที่ตรวจจับและบันทึกรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต
          -ดาวเทียมจารกรรม
          ดาวเทียมที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่งก็คือ ดาวเทียมเพื่อการจารกรรมหรือสอดแนม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ ด้วยกัน แต่ที่นิยมมากที่สุดคือประเภทที่ใช้เพื่อการลาด ตระเวน โดยมีการติดกล้องเพื่อใช้ในการถ่ายภาพพิเศษ สามารถสืบหาตำแหน่งและรายละเอียดเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการได้ ดาวเทียมจะมีอุปกรณ์ตรวจจับ คลื่นวัตถุด้วยเรด้าร์และ แสงอินฟราเรด ซึ่งสามารถตรวจจับได้ทั้งในที่มืด หรือที่ที่ถูกพรางตาไว้

ชนิดของดาวเทียม

ชนิดของดาวเทียม


         ดาวเทียมที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือผิวโลก ขณะนี่มีมากกว่า 200 ดวง ซึ่งโคจร อยู่ที่ ณ ตำแหน่งต่างๆบนท้องฟ้า   ดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปเหนือผิวโลกนี้สามารถ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ของลักษณะการโครจรเหนือผิวโลก
  
1. ดาวเทียมแบบโครจรตามยถากรรม
เป็นดาวเทียมรุ่นแรกๆ ที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือพื้นผิวโลก สมัยก่อนนั้นระบบเทคโนโลยี ของการส่ง และการควบคุมดาวเทียมนั้นยังไม่ดีเท่าทีควร ดาวเทียมแบบนี้ แต่ละดวงจะมีวงโครจรเป็นของตัวเองต่างจากดวงอื่นๆ และระดับความสูงแต่ละดวงจะแตกต่างกัน  และเป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรและระดับความสูงไม่ได้

2. ดาวเทียมแบบเฟส
เป็นดาวเทียมที่มีวงโครจรแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่จะให้ดาวเทียมนั้นๆโครจรผ่าน ณ ตำแหน่งใดๆเหนือพื้นโลก เช่น โครจรเหนือเส้นศูนย์สูตร   โครจรเอียง 30องศา   โครจรผ่านขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้เป็นต้น ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรได้ เช่น    ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร    ดาวเทียมจารกรรม เป็นต้น

3. ดาวเทียมแบบโครจรอยู่กับที่
เป็นดาวเทียมที่ใช้เพื่อการสื่อสาร โดยมนุษย์ส่งขึ้นไปให้มีระดับความสูงประมาณ 35,860 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก รอบเส้นศูนย์สูตร (รอบ เส้นรุ้งที่ 0 องศา ) และมีความเร็วในการโครจรรอบโลกครบหนึ่งรอบเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเราสังเกตดูดาวเทียมดวงใดดวงหนึ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่งพื้นโลกเป็นเวลาหนึ่ง จึงดูเสมือนว่าดาวเทียมดวงเรามองอยู่นั้นลอยนิ่งอยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนที่. สมัยที่ท่านเรียนหนังสือ ท่านคุณครูบ้างท่านอาจเรียกดาวเทียมชนิดนี้ว่า " ดาวเทียมค้างฟ้า "  ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร


วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

บทเรียนบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการสื่อสารดาวเทียม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดย
นายจีรวัฒน์ พันสีทุม


                                               การสื่อสารดาวเทียม

1. ดาวเทียมคืออะไร
ดาวเทียม (อังกฤษ: Satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่างๆ